Style & Art Direction

 กำกับงานศิลปะในการ์ตูนแอนิเมชัน
          องค์ประกอบทางสายตาและการได้ยินมีอินธิพลอย่างมากในแง่ของการรับรู้ ซึ่งแสดงออกถึงอารมณ์และความรู้สึกของผู้ชมขณะที่ดูภาพยนตร์ ดังนั้น บทบรรยาย , การแสดงออกของตัวละคร , ดนตรีและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องทางศิลปะ จึงเป็นสื่อที่นำพาอารมณ์และความคิดของผู้ชมให้รู้สึกไปในทิศ
ทางต่างๆ นั่นจึงเป็นคำถามที่ผู้กำกับศิลป์ในงานแอนิเมชันให้ความสำคัญมากกว่าจะถ่ายทอดอารมณ์ในส่วนหรือฉากใดๆ ของเรื่องให้ออกมาในทิศทางใด

          ยกตัวอย่างเช่น หากว่าต้องการถ่ายทอดอารมณ์ให้ดูมืดมน วังเวง น่าขนลุก ให้ความรู้สึกไม่ปลอดภัยเหมือนกำลังตกอยู่นอันตราย ก็ควรใช้สีและแสงเงาช่วยให้บรรยากาศดูอืมครึมและหม่นหมอง เป็นต้น เริ้มต้นเราควรสร้างตัวอย่างและกำหนดขอบเขตของเนื้อเรื่อง (Trailar our story) เพื่อให้เห็นภาพรวม ซึ่งมีผลับขนาดของไฟล์ และการ Streaming บนอินเตอร์เน็ต และควรวางแผนอย่างรอบคอบในการออกแบบซ๊อต การเคลื่อนที่ของกล้อง และเอฟเฟ็กต์ต่างๆ ให้สามารถสร้างความประทับใจและแสดงออกมาอย่างราบรื่น
 เส้นกับอารมณ์ที่เกิดในผลงาน (Line work)
          อารมณ์ความรู้สึกจากเส้นแบบต่างๆ เส้นนั้นเป็นส่วนประกอบหนึ่งทางสายตาที่สำคัญที่ให้แทนตัวแสดงจริงเหล่านั้น สามารถทำหน้าที่การกำหนดเขบเขตที่ว่าง รูปร่าง แลแทนความหมายเป็นตัวการ์ตูนที่แสดงความรู้สึกและอารมณ์ได้ด้วยเส้นต่างๆเหล่านั้น เส้นจะแบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ๆ สองแบบคือ เส้นตรง (Straight Line) และเส้นโค้ง (Curve Line) เส้นทั้งสองแบบนี้เวลาที่นำมาวางต่อกันในรูปแบบต่างๆ ก็จะเกิดเป็นรูปแบบของเส้นที่หลายหลายขึ้นมาตามทฤษฎีแล้วได้มีการสรุปอารมณ์ที่เกิดจากเส้นแบบต่างๆ ไว้ดังนี้
สีและความรู้สึก
จิตวิทยาของสี ( Psychology of color )  “สี” มีอิทธิพลต่อผู้ชมในการสื่อถึงอารมณ์และความรู้สึก เป็นสิ่งที่แทนความหมายว่าอะไรบ้างที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์ ความรู้สึกเกี่ยวกับสีจะมีหลากหลายความรู้สึก
วรรณะของสี ( Tone of color )
          วรรณะของสีคือ ความแตกต่างของสีแต่ละด้านของวงจรสีที่แสดงถึงความรู้สึกที่แตกต่างกันซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับเสียงเพลงหรือเสียงดนตรีก็คือเสียงสูงและเสียงต่ำที่แสดงออกทางอารมณ์ ที่มีการเคลื่อนไหว มีชีวิตชีวา หรือเศร้าโศกรันทดใจ
          สีที่อยู่ในวรรณะร้อน (Warm Tone Color) ได้แก่ สีเหลืองส้ม สีส้ม สีแดง และสีม่วงแดง สีกลุ่มนี้เมื่อใช้ในงานจะรู้สึกอบอุ่น ร้อนแรง สนุกสนาน
          สีที่อยู่ในวรรณะเย็น ( Cool Tone Color) ได้แก่ สีเขียว สีฟ้า สีม่วงคราม สีกลุ่มนี้เมื่อใช้ในงานจะได้ความรู้สึกสดชื่น เย็นสบาย

Character Design & Casting
          เรื่องราวทั้งหมดของการ์ตูนแอนนิเมชันจะถ่ายทอดโดยนักแสดงหรือตัวละครเป็นหลัก โดยการพูด การกระทำที่แสดงออก รวมทั้งความสัมพันธ์กับตัวละครอื่นๆ ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงบุคลิกลักษณะของตัวแสดงโดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ บุคลิกแบบจำลองและบุคลิกลักษณะพิเศษเฉพาะตัว

 หลักการพื้นฐานสำหรับการออกแบบ Character
          การออกแบบ Character จะมีหลักการอยู่สองเรื่องคือ Style หรือ Profile
*   Profile Data คือการอธิบายรายละเอียดของตัวละคร โดยมีอยู่ 7 หัวข้อคือ
·           ID   อายุ , เพศ , ส่วนสูง , สีผิว , ผม , ตา และจุดสังเกตสำคัญๆ เช่น ใส่แว่นดำตลอดเวลา หรือมีปีกเล็กๆ เป็นต้น
·           Characteristic : เป็นตัวที่บอกบุคลิกว่าเป็นคนอย่างไร อารมณ์ดีตลอดเวลา หรือซึมเศร้าเก็บตัว ที่เป็นบุคลิกเฉพาะของตัวละครตัวนี้
·           Role : บอกบทบาทหลักๆ ว่ามีหน้าทำอะไรในเรื่องนี้ เช่น เป็นเด็กจากชนบทต้องการไปตามหาอาวุธในตำนานเพื่อปกป้องโลก หรือต้องไปแก้แค้นให้ท่านพ่อ
·           Origin : เป็นรากเหง้าของตัวละครว่ามาจากไหน จากหมู่บ้านอะไร หรือจากดาวดวงไหน
·           Background : บอกภูมิหลังของตัวละครสักหน่อยว่าเคยทำอะไรมา ทำไมต้องมาอยู่เรื่องนี้ เช่น เคยเป็นเด็กชาวนา ตอนเด็กๆได้เรียนคาถาอาคมมาบ้าง จึงมีวิชาติดตัวพอสมควร และด้วยความที่หลวงตาสอนมาให้ช่วยเหนือผู้คน จึงออกเดินทางเพื่อช่วยเหลือนที่เดือดร้อน
·           Power : มีหลังพิเศษ หรือความสามารถพิเศษอะไร
·           Associate : มีแนวร่วมเห็นใครบ้าง เช่น Hero ก็จะมีแนวร่วมเป็น Mentor และ Herald แล้วแนวร่วมที่ว่านี้ช่วยทำอะไรบ้าง
*   Style เป็นการเลือกสไตล์ของตัวการ์ตูนว่าจะให้ออกมาแนวไหน แนวจริงจัง หรือแนวคิกขุน่ารัก





 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น