Storyboard

สื่อสารด้วย Storyboard จากข้อความกลายเป็นภาพ
            การสร้างสตอรีบอร์ดนับเป็นกระบวนการที่สำคัญมากในการสร้างภาพยนตร์ เรียกได้ว่าเป็นหัวใจของแอนิเมชันเลยทีเดียว สตอรีบอร์ดเปรียบเสมือนการพูดด้วยภาพ หรือการใช้ภาพเล่าเรื่อง สามารถบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งอารมณ์ในเหตุการณ์ สีหน้า และท่าทางของตัวละครออกมาก เป็นการวาดในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งมีขนาดสัดส่วนความกว้างยาวตามขนาดจอภาพของสื่อที่ออกฉายช่วยให้เห็นภาพที่มาจากจินตนาการของนักออกแบบและนักเขียนบทได้อย่างเป็นรูปธรรม และยังช่วยสร้างความเข้าใจให้ตรงกันภายในทีมงานได้อีกด้วย
            การสร้างสตอรีบอร์ด ช่วยให้เราฝึกฝนและพัฒนาการใช้ภาพสื่อสารอารมณ์ที่ให้ความหมายของเรื่องราวต่างๆ ก่อนที่จะเป็นภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชันดังนั้น เราควรศึกษาการสื่อสารข้อความ แนวความคิดและรูปแบบต่างๆ ในการจัดวางองค์ประกอบภาพ (Composition) และทิศทางของภาพ (Screen Disection) จนถึงการเคลื่อนที่ของกล้อง ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจเหล่านี้ในการขยายความคิดและถ่ายทอดเรื่องราวลงบนสตอรีบอร์ดให้มีความหลากหลาย และชัดเจนมากขึ้น
โปรแกรม Flash และมุมมองของภาพ
          ก่อนที่จะได้ภาพที่สวยงาม สื่อความหมายและอารมณ์แก่ผู้ชม เราควรเข้าใจมุมมองของกล้องในภาพยนตร์ ซึ่งเปรียบเสมือนหน้าต่างของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แน่นอนว่าในโปรแกรม Flash ไม่มีกล้องถ่ายทำภาพยนตร์เหมือนในการถ่ายภาพยนตร์ที่ใช้คนแสดงจริง ดังนั้น เราจึงต้องสร้างจินตนาการเสมือนว่ามีกล้องอยู่จริง ช่วยให้ภาพการ์ตูนที่เราวาดนั้นสามารถหมุนไปได้รอบๆ เมื่อเราขยายภาพ ด้วยโปรแกรมจะให้ภาพที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่นเดียวกับการเคลื่อนกล้องเข้าไปหาภาพในระยะใกล้ๆ เมื่อเราใช้เครื่องมือในการย้ายภาพ ก็เสมือนการเคลื่อนที่ของฉากหลังด้วยกล้องเช่นกัน
          ขนาดของภาพ (Field of View)
*   ภาพไกลมาก หรือ Extreme Long Shot (EXS)
                        เป็นขนาดภาพที่กว้างไกลมาก ขนาดภาพนี้มักใช้เป็นภาพเปิดเรื่องหรือเริ่มต้นเพื่อบอกสถานที่ว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นที่ไหน ปกติฉากที่เปิดโดยใช้ภาพขนาดนี้มักมีขนาดกว้างใหญ่ เช่น มหานครซึ่งเต็มไปด้วยหมู่ตึกสูงเสียดฟ้า ท้องทะเลกว้างสุดลูกหูลูกตาก ขุนเขาสูงตระหง่าน ฉากการประจันหน้ากันในสงคราม ฉากการแสดงมหกรรมดนตรี ฯลฯ
*   ภาพไกล หรือ  Long Shot (LS)
เป็นขนาดภาพที่ย่อลงมาจากภาพ Extreme Long Shot คือ กว้างไกลพอที่จะมองเห็นเหตุการณ์โดยรวมทั้งหมดได้ เมือดูแล้วรู้สึกได้ทันทีว่าในฉากนี้ใครทำอะไร อยู่ที่ไหนกันบ้าน เพื่อให้คนดูไม่เกิดความสับสนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวละครในฉากนั้นๆ ถือเป็นขนาดภาพที่เหมาะกับการเปิดฉากหรือปิดตัวละคร เพื่อให้เห็นภาพรวมก่อนที่จะนำคนดูเข้าไปใกล้ตัวละครมากขึ้นในซ็อต ต่อไป
*   ภาพปานกลาง หรือ  Medium Shot (MS)
เป็นภาพที่คนดูจะไม่ได้เห็นตัวละครตลอดทั้งร่างเหมือนภาพ Long Shot แต่จะห็นประมาณครึงตัวเป็นขนาดภาพที่ทำให้รายละเอียดของตัวละครมากยิ่งขึ้น เหมือนพาคนดูก้าวไปใกล้ตัวละครให้มากขึ้น
*   ภาพใกล้ หรือ  Close Up  (CU)
เป็นขนาดภาพที่เน้นใบหน้าตัวละครโดยเฉพาะ เพื่อแสดงอารมณ์ของตัวละครในขณะนั้นว่ารู้สึกอย่างไรต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
*   ภาพใกล้ หรือ Extreme Close Up  (ECU)
เป็นขนาดภาพที่ตรงกันข้ามชนิดสุดขั้วกับภาพ Extreme Long Shot คือจะพาคนดูเจ้าไปใกล้ตัวละครมากๆ เช่น แค่ตา ปาก จมูก รวมไปถึงการถ่ายสิ่งของอื่นๆอย่างใกล้ชิด

          ทิศทางของภาพ (Screen Direction)
            ทิศทางของภาพมีส่วนสำคัญในการกำหนดมุมมองที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ชมรับรู้ว่าตัวแสดงมีตำแหน่งและระยะทางที่สัมพันธ์กันอย่างไรกับตัวแสดงอื่น
*   Crossing the line
หลักการสำคัญในการรักษาทิศทางของภาพ คือ การใช้เส้นที่เรียกว่า Line of action เส้นนี้เป็นเส้นสมมติขอบเขตในการเคลื่อนที่ของกล้อง โดยลากผ่านจากตำแหน่งตัวแสดงทางด้านซ้ายไปยังตำแหน่งแสดงทางด้านขวา เพื่อให้การเปลี่ยนมุมกล้องและทิศทางการมองของตัวแสดงมีความสัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง

*   Crossing the Shot

การใช้กล้อง (Using the camera)
การเคลื่อนกล้อง (Camera moves)
การเคลื่อนที่ของกล้องสามารถให้ภาพที่น่าติดตาม เหมือนกับว่าเราอยู่ในสถานที่นั้นจริงๆ และสามารถออกไปนอกขอบเขตที่เราเห็นบนจอภาพได้การเคลื่อนกล้องมักจะให้แทนที่การตัดภาพไปยังอีกฉากหนึ่งเพื่อสร้างความต่อเนื่องในภาพ โดยการ Paning หรือการเคลื่อนกล้องไปหาวัตถุทีเรียกว่า Tracking หรือ Dollying  การสร้างการ์ตูนแอนิเมชันในโปแกรม Flash ไม่มีกล้องถ่ายจริงดังนั้นจึงต้อใช้กล้องสมมติขึ้นมาแทนในการจับภาพบนพื้นที่การทำงาน แล้วเคลื่อนภาพแทนการเคลื่อนที่ของกล้อง
การทิล (Tilt) หมายถึง การถ่ายทำโดยการเคลื่อนที่ของกล้องไปในทิศทางตามแนวตั้งจากล่างขึ้นบนหรือจากบนลงล่าง
Truck เป็นการเคลื่อนกล้องเข้าหา หรือออกจากภาพ ซึ่งจะทำให้เห็นภาพดูแคบลงหรือกว้างขึ้น
การเปลี่ยนภาพ (Tramsition)
*   การตัดภาพ (Cut) หมายถึง ภาพที่มีการเปลี่ยนภาพอย่างรวดเร็วด้วยการเปลี่ยนภาพจากภาพหนึ่งไปยังอีกภาพหนึ่ง โดยไม่มีอะไรมาคั่นแต่ผู้ดูสามารถเข้าใจได้ด้วยอาศัยความต่อเนื่องทางเนื้อหาหรือต่อเนื่องทางสายตามของผู้แสดง
*   ภาพจางซ้อน (Lap Dissolve or Dissolve) หมายถึง ภาพผสมระหว่างภาพจางออกกับภาพจางเจ้า โดยถ่ายภาพจางเข้าซ้อนลงไปบนจอภาพออกให้พอดีกัน
*   ภาพจาง (Fade) หมายถึง ภาพที่ค่อยๆเลือนหายไปสู่ความืด และค่อยๆ ปรากฎขึ้นจากความมืดมาสู่จอการทำภาพจากนี้นิยมนำมาใช้ในการเปลี่ยนฉาก เปลี่ยนตอบ
*   ภาพวาด (Wipe) หมายถึง ภาพที่มีเส้นตรงคั่นภาพบนจอออกเป็นสองส่วน
*   ภาพหมุน (Spin) หมายถึง การหมุนฉากหนึ่งไปรอบๆจุดศูนย์กลางของตัวมันเอง
*   ภาพหายตัว (Magical Appearances) หมายถึง การทำภาพโดยเทคนิคพิเศษที่ให้บุคคลหรือวัตถุหายตัวไปจากภาพ
*   ภาพพลิก (Flip) คือ ภาพฉากหนึ่งเริ่มหมุนอยู่บนจุดแกนของสิ่งนั้น แล้วนำฉากใหม่เข้ามาสู่ด้วยการหมุนครึ่งส่วนของทั้งภาพ
*   ภาพกลมขยายเข้า-ออก (Lris In, Lris Out) คือ การเปลี่ยนฉากจากช่องหรือรูกลมเล็กๆ ขยายขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ จนมองเห็นภาพเต็มกรอบภาพ


การจัดวางสตอรีบอร์ด (Laying out a storyboard)
            การจัดวางองค์ประกอบอย่างคร่าวๆ ในสตอรีบอร์ด สามารถทำได้ด้วยการดึงส่วนสำคัญของเนื้อเรื่องในสคริปต์ถ่ายทอดลงในฉากต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยรูปวาดแบบหยาบๆ ขนาดของภาพที่ใช้มุมกล้องและลักษณะการเคลื่อนที่ของกล้อง บอร์ดภาพต่างๆ นี้จะมีรูปแบบมาตรฐานในการนำเสนอโดยทั่วไปแล้วเป็นดังนี้
a)      ตอนที่เท่าไร หรือ Scene ที่เท่าไร
b)      มุมกล้องที่ใช้

c)      เวลา

1 ความคิดเห็น:

  1. มีประโยชน์มากค่ะ สรุปได้ชัดเจนเนื้อหาไม่เยอะ เข้าใจง่ายมากค่ะ

    ตอบลบ