แอนิเมติก (Animatic)
Animatic คือ การวาดภาพตามแนวความคิดสร้างสรรค์มาประกอบกันเข้าเป็นเรื่องราว
สามารถสื่อแนวความคิดหลักใหญ่ๆ ให้นักสร้างสรรค์สามารถทบทวนแนวความคิด กรอบเวลา และการดำเนินเรื่องราวอย่างมีเหตุผลและต่อเนื่อง
ก่อนที่จะผลิตเป็นภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชัน
การทำแอนิเมติกมักใช้ฉากที่สำคัญ
ยากต่อความเข้าใจหรือมีรายละเอียดที่สลับซับซ้อน ไม่จำกัดว่าต้องเป็นงาน 2D หรือ 3D
เท่านั้นแต่ยังหมายถึงทุกเทคนิค ทุกวิธีการที่สามารถนำภาพนิ่งจาก Storyboard
มาแสดงให้เป็นภาพเคลื่อนไหว จุดมุ่งหมายในการทำ Animatic ไม่ได้เพียงเพื่อตรวจสอบหรือวิเคราะห์เทคนิคของการดำเนินเรื่องเท่านั้น
แต่ยังช่วยในการตรวจสอบไอเดียหลักว่ามีความเข้าใจอย่างไร ตรวจสอบจังหวะ
และเวลาจากภาพที่เคลื่อนไหวว่าควรเพิ่มหรือตัดออกหรือไม่ เพื่อมีความต่อเนื่องและสื่ออารมณ์ได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด
ทำให้ได้ความแม่นยำ ถูกต้อง สะดวกรวดเร็วตรงความต้องการ
เป็นการลดความผิดพลาดให้น้อยลง ช่วยให้ประหยัดเวลา และงบประมาณในการผลิตมากขึ้น
ตาของมนุษย์จะถูกหลอกให้เห็นว่ามีการเคลื่อนไหวที่อัตราแสดงภาพอย่างต่อเนื่อง
12 ภาพใน 1 วินาที ซึ่งอัตรานี้คือค่ามาตรฐาน มักใช้สำหรับงานการ์ตูนแอนิเมชันบนอินเทอร์เน็ต
สำหรับค่า 8 fps จัดเป็นค่าที่ต่ำ และมีค่า 24 fps จะถือว่าสมจริงที่สุด
เป็นอัตราความเร็วทั่วไปที่ใช้ในภาพยนตร์แบบที่ใช้คนแสดงและภาพยนตร์แอนิเมชันเช่นกัน
และการนำไปใช้ในรูปแบวิดีโอจะใช้อัตราส่วนที่ 25 fps
ซึ่งให้ภาพการเคลื่อนไหวอย่างที่เราต้องการ แต่ในโปรแกรม Flash มักจะพบปัญหาบ่อยๆ คือ เมื่อเราใส่เสียงเข้าไป
อาจจะทำให้ภาพและเสียงมาไม่พร้อมกัน
นอกจากนำไฟล์วิดีโอไปปรับแต่งด้วยโปรแกรมตัดต่ออื่นๆ เช่น Adobe Premiere ,
Final Cut Pro เป็นต้น
1.
เปิดโปรแกรม Flash เลือก Create
Document เพื่อเตรียมพื้นที่งาน (Stage)
หรือคลิกเมนู File > New..
2.
คลิกปุ่มกำหนดขนาดพื้นที่ใน Properties Inspector Panel
3.
กำหนดขนาดในหน้าต่าง Document Properties เป็น 800x600 เพื่อนำไปใช้งานบนอินเตอร์เน็ต
4.
นำเข้าไฟล์ภาพโดยคลิกเมนู File>Import>Import to Stage.. หรือกดปุ่ม
<Ctrl+R>
5.
เลือกภาพที่สร้างไว้ แล้วคลิกปุ่ม Open
6.
คลิกที่ภาพพร้อมปรับขนาดของภาพใน Properties Inspector Panel ให้เท่ากับ 800x600 เพื่อให้เต็มพื้นที่การทำงาน
7.
บน Timeline คลิกเฟรมที่
50
8.
คลิกขวาเลือกคำสั่ง Insert
Frame เพิ่มเติมความยาวของเฟรม ทำให้เวลาในการแสดงภาพเพิ่มขึ้นด้วย
รายละเอียดควมยาวในแต่ละเฟรม เฟรมเรต และระยะเวลาในแต่ละฉาก
สามารถตรวจสอบได้บริเวณด้านล่างของ Timeline โดยการคลิกเลื่อนหัวอ่านไปยังเฟรมที่ 50 จะเห็นได้ว่าใน Scene 1 มีจำนวน 50 เฟรมเรตเท่ากับ 12 เฟรมต่อวินาที รวม Scene ใช้เวลาทั้งหมด 4.1 วินาที
นำภาพที่เหลือยกลงในแต่ละฉาก ด้วยการสร้างฉากที่เหลือขึ้นมาใหม่ ดังนี้
1.
คลิกเมนู Insert > Scene 2
2.
แครกเมาส์ลากภาพ sb
panel 02 จาก Library
ทางด้านขวามือของโปรแกรมวางลงบน Stage
3.
คลิกที่ภาพพร้อมปรับขนาดของภาพใน Properties inspector Panel ให้เท่ากับ 800x600 เพื่อให้เต็มพื้นที่งาน
4.
ทดสอบการเปลี่ยนฉากด้วยการคลิกปุ่ม Edit Scene สลับระหว่าง Scene 1 และ Scene 2
5.
คลิกที่ Scene 2 จานั้นคลิกเฟรมที่
50
6.
คลิกขวาเลือกคำสั่ง Insert
Frame
7.
เพิ่มฉากอีกวิธีหนึ่งด้วยการคลิกเมนู Window>Other Panels > Scene หรือกดปุ่ม <Shift+F2>
จะปรารฎหน้าต่าง Scene
8.
คลิกปุ่มเครื่องหมายบวก + เพิ่ม Scene 3
9.
จากนั้นแดรกเมาส์ลากภาพ sb panel 03 ใน Library มาวางลงบน
Scene 3
10.
คลิกขวาบน Timeline เฟรมที่ 50 เลือกคำสั่ง Insert Frame
11.
คลิกเมนู File > Save As… ตั้งชื่อไฟล์ว่า
animatic พร้อมคลิกปุ่ม Save
1.
คลิกเมนู Insert>Scene เพื่อเพิ่ม
Scene 4
2.
แครกเมาส์ลากไฟล์ sb panel 04 วางลงบน Stage ใน layer 1
3.
ปรับขนาดของภาพ โดยคลิกขวาบนภาพเลือกคำสั่ง Free Transform
4.
แดรกเมาส์ตรงมุมของภาพ
เพื่อปรับให้พื้นที่ของงานใหญ่เท่ากับเส้นกรอบสี่เหลี่ยมที่กำหนดไว้ในภาพ
5.
คลิกเครื่องมือ Rectangle
6.
บน Layer 2
วาดกรอบสี่เหลี่ยมเพื่อใช้กำหนดขอบเขตในการอ้างอิงของภาพ โดยเลือกเส้นขอบ
และไม่เติมพื้นสี
7.
ดับเบิลคลิกเส้นขอบเมนูบนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่วาดเอาไว้
8.
ปรับขนาดเส้นใน Properties
Inspector Panel โดยให้ความกว้างเท่ากับ 800 Pixels
ความสูงเท่ากับ 600 Pixels
9.
คลิกขวาบน Layer 2 เลือกคำสั่ง Guide
เพื่อทำให้เส้นสีเขียวที่วาดไว้ไม่ปรากฎเวลาเล่นมูวี่
10.
เลื่อนภาพให้อยู่ในตำแหน่งตามกรอบบนมุมซ้ายตามภาพที่วาดไว้
11.
คลิกขวาบน Timeline เลือกคำสั่ง
Insert Keyframe ที่ 50 ทั้ง 2 เลเยอร์
12.
บน Layer 1
คลิกเลือกเฟรมที่ 25
13.
คลิกขวาเลือกคำสั่ง Insert
Keyframe
14.
ทำเช่นเดียวกันโดยการคลิกขวาเลือกคำสั่ง Insert Keyframe ที่ 50
15.
บน Leyer 1
คลิกเลือกคีย์เฟรมที่ 25 พร้อมกดปุ่ม <Shift> ค้างไว้ แล้วคลิกเลือกเฟรมที่ 50 เพื่อเลือกเฟรมที่ 25-50
16.
คลิกขวาเลือกคำสั่ง Create
Motion Tween
17.
ที่คีย์เฟรมที่ 50
แดรกเมาส์เลื่อนภาพไปในแนวทะแยงมุมไปยังกรอบตำแหน่งที่ปรากฎอีกมุมหนึ่งในภาพ
18.
ทดสอบเลื่อนหัวอ่านไปมาเพื่อดูทิศทางการเลื่อนภาพ
19.
คลิกขวาเลือกคำสั่ง Insert
Frame ที่ 75 ทั้ง 2 เลเยอร์
20.
คลิกเมนู File > Save เพื่อจัดเก็บชิ้นงาน
1.
เปิดไฟล์ Animatic.fla ที่ Save
ไว้จากงานก่อน
2.
บน Timeline เลือก scene
4
3.
บน Timeline เพิ่มเลเยอร์ด้วยการคลิกปุ่ม
Insert layer
4.
บน Layer 3 คลิกเลือกเฟรมที่
76 พร้อมกดปุ่ม <F6> เพื่อ Insert
Keytrame
5.
แดรกเมาส์ลากภาพ Sb
Panel 05 จาก Library
วางลงบน Stage
6.
คลิกเลือกภาพพร้อมกับปรับขนาดใน Properties inspector Panel ให้เท่ากับ 800x600
pixels เพื่อทำให้ขนาดเต็มพื้นที่งาน
7.
บน Layer 3
คลิกขวาเลือกคำสั่ง Insert Frame ที่ 100
8.
เพิ่ม Layer 4 ด้วยการคลิกปุ่ม
Insert layer บน Timeline
9.
คลิกเลือกเฟรมที่ 101 บน Layer 4 กดปุ่ม <F6>
เพื่อ Insert Keyframe ที่ 101
10.
แดรกเมาส์ลาก sb panel 06 จาก Library วางบน Stage พร้อมปรับขนาดให้เต็มพื้นที่งาน
11.
คลิกขวาเลือกคำสั่ง Insert ที่ 125
12.
เพิ่ม Scene 5
โดยการคลิกเมนู Insert > Scene
13.
แดรกเมาส์ลก Sd panel 07 จาก Library วางลงบน Stage ปรับขนาดให้เต็มพื้นที่งาน
14.
คลิกขวาเลือกคำสั่ง Insert
Frame เฟรมที่ 50
15.
ทำเช่นเดียวกันโดยเพิ่มฉากที่ 6 และ 7
16.
แดรกเมาส์ลากไฟล์ sb
panel 08 และ sb panel 09 วางลงในฉากที่ 6 และ 7 ตามลำดับปรับขนาดภาพ แล้วเพิ่มเฟรมที่ 50 ทั้งสองฉาก
การเฟดภาพทั้งภาพเป็นสีดำเป็นเทคนิคทั่วไป
ที่มักใช้เปลี่ยนภาพในวงการภาพยนตร์เรียกกันว่า Black matte ซึ่งในโปรแกรม Flash สามารถเพิ่มหรือลดค่าความเข้มจากของภาพได้ตั้งแต่ค่า
0% ถึง 100% ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1.
คลิกเลือก Scene 7
2.
สร้างเลเยอร์ใหม่ด้วยการคลิกปุ่ม Insert Layer
3.
บน Layer 2 คลิกเฟรมที่ 25 พร้อมกดปุ่ม <F6> เพื่อ Insert
Keyframe
4.
คลิกเครื่องมือ Rectangle
5.
วาดภาพสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 800x600 โดยให้พื้นเป็นสีดำและไม่มีเส้นขอบ
6.
วาดสี่เหลี่ยมลงไปในพื้นที่การทำงาน
เสร็จแล้วดับเบิลคลิกที่สี่เหลี่ยมที่วาด แล้วกดปุ่ม F8 แล้วกด OK
7.
คลิกเลือกเฟรมที่ 50 พร้อมกดปุ่ม <F6> หรือ คลิกขวา Insert
Keyframe
8.
คลิกเลือกเฟรมที่ 25 คลิกขวา Insert Keyframe
9.
กดปุ่ม Shift ค้างไว้แล้วคลิกทีเฟรมที่
25 และเฟรมที่ 50
10.
คลิกขวาเลือกคำสั่ง Create
Classic Tween
11.
คลิกที่เฟรมที่ 25
ใน Properies Inspector Panel เลือก Color
เป็น Aipha
12.
ปรับความเข้มจางของภาพเป็น 0%
13.
ทดสอบการเล่น Aniamtion
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น